ทำใจให้เป็นสุข
ความจริงที่หลายๆคนอาจมองข้ามไปจนทำให้ใจเผลอเป็นทุกข์อยู่เสมอคือ ความจริงที่ว่า “คนเราทุกคนสามารถทำใขให้เป็นสุขได้ในทุกๆสถานการณ์” เราสามารถคิดว่าเราจะมีความสุขและทำให้คนรอบข้างมีความสุขได้ด้วย ทั้งนี้เริ่มที่ความคิดเราเอง แม้ว่าเราทุกคนต่างก็ต้องพบเจอปัญหาเหมือนกันทุกๆวัน แต่คนแต่ละคนตอบสนองปัญหาไม่เหมือนกัน ซึ่งการจะตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีมากน้อยเพียงใดนั้นก็อยู่ความคิด ของคนแต่ละคน
ยกตัวอย่างเช่น
เรานัดไปทานข้าวกับเพื่อนแล้วเพื่อนของเรายังไม่มาสักที หากเราคิดดี ว่าเพื่อนเราคงติดธุระอยู่ หรือมีเหตุสุดวิสัยบางอย่างที่ทำให้ยังมาไม่ได้ เพื่อนคนไม่ตั้งใจอยากให้เรารอนาน หากเราไม่อยากให้เวลาอันมีค่าต้องเสียไปเปล่าๆ เราก็ลองคิดดูว่าตอนนี้จะทำอะไรได้บ้าง เช่น อาจจะหยิบหนังสือดีๆมาอ่าน ทำงานที่เอาติดมาด้วย โทรศัพท์ติดต่อลูกค้า ฯลฯ ซึ่งหากเราคิดดี เราจะมีความคิดที่สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลดีต่อตัวเราเอง เรียกว่าเปลี่ยนปัญหาเป็นโอกาสที่เราจะได้คิดได้ทำอะไรใหม่ๆ เมื่อเราคิดได้อย่างนี้เราก็จะไม่อารมณ์เสีย ไม่ต่อว่าเพื่อน ไม่นั่งหน้าบูดบึ้ง และไม่ปล่อยเวลาเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่เสียสุขภาพจิตอีกด้วย
การที่ใจจะเป็นสุขนั้นจึงขึ้นอยู่กับความคิดเป็นสำคัญ หากเราเป็นคนหนึ่งที่อยากจะมีความสุข เราจำเป็นต้องฝึกฝนความคิดให้คิดแง่บวกอยู่เสมอ คิดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ มีคุณค่า คิดในสิ่งที่จริง คิดถึงความสำเร็จ และฝึกคำพูดให้เป็นคำพูดแง่บวกเสมอ เช่นคำว่า เราต้องทำได้ ไม่เป็นไรหรอก ขอบคุณ ดีจัง เยี่ยมมาก น่ารัก สวย เป็นต้น และเลิกใช้คำที่ไม่ได้ช่วยให้อะไรๆดีขึ้น เรียกว่าถ้อยคำที่บ่อนทำลาย ได้แต่คำว่า ตายแน่ เบื่อ เซ็ง ซวย ไม่ไหว หมดหวัง แย่แล้ว ใช้ไม่ได้เลย คำเหล่านี้ไม่พูดเลยจะดีที่สุด
ทุกคนร่าเริงแจ่มใสได้ ถ้าเห็นคุณค่า และตั้งใจทำจริง
สร้างความสุขด้วยการให้
“การให้เป็นเหตุให้เกิดความสุขมากกว่าการรับ” นี่เป็นสุภาษิตสากลที่สอนให้เราเรียนรู้ และตระหนักถึงผลดีของการให้ การให้เป็นวิธีการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีและง่ายที่สุด การให้แสดงถึงความมั่นคงของจิตใจ ความเป็นผู้ใหญ่ของผู้ให้ ถ้าทุกคนในสังคมรู้จักการให้ ทุกๆคนในสังคมก็จะมีความสุข
การให้มีหลักที่ต้องพิจารณาบางประการคือ
1. ให้แล้วเราไม่ลำบากจนเกินไป
2. ให้แล้วมีประโยชน์ต่อผู้รับอย่างแท้จริง
3. ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน
การให้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการให้สิ่งของหรือเงินตราเท่านั้นแต่ยัง รวมไปถึงการให้ความรัก ความเมตตาให้กำลังใจ หรือแม้แต่ให้รอยยิ้ม ก็ทำให้ทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างมีความสุขได้มากขึ้นทีเดียว
ทำงานด้วยใจรัก
เลือกงานที่เหมาะสมกับตัวคุณ และทุ่มเททำงานด้วยใจรักไม่ใช่เพียงเพื่อเงินตอบแทน หรือเพียงความก้าวหน้าในอาชีพการงานเท่านั้น หากแต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เอง หากเราได้ทำงานด้วยความตั้งใจ เอาใจใส่งานอย่างแท้จริง สิ่งที่เราควรจะระลึกไว้เสมอก็คือ ความก้าวหน้าในการทำงานหรือเกียรติยศ ชื่อเสียงไม่ได้เป็นตัววัดคุณค่าคน เพราะมีคนมากมายที่ทำงานอย่างสัตย์ซื่อ เต็มกำลัง ที่ไม่ได้รับการยกย่อง ไม่เป็นที่รู้จัก แต่สิ่งที่ควรยึดถือ ก็คือ ความเคารพและภาคภูมิใจในตนเอง และความเชื่อมั่นว่าตนกำลังทำในสิ่งที่ดีและถูกต้อง ขวัญและกำลังใจในการทำงาน ไม่ต้องรอให้ใครมาสร้างขึ้น แต่ต้องเกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจของเราเอง ไม่ว่างานนั้นจะหนัก หรือยากลำบากแค่ไหน หากเรามีใจรัก และรู้ว่างานนั้นๆจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนมากมาย เราก็จะสามารถมีความสุขในการทำงานได้เสมอ
ความสุขเริ่มต้นที่ครอบครัว
มนุษย์ทุกคนย่อมปรารถนาที่จะมีความสุขภายในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนของสังคมที่ใกล้ชิดและเราใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่ สุด ไม่ว่าชีวิตภายนอกบ้านของเราจะเป็นอย่างไร แต่หากสภาพภายในครอบครัวเรามีความอบอุ่น ผาสุก เปี่ยมไปด้วยความรักแล้ว เราก็จะมีพลังกาย มีกำลังใจที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน กับทุกอุปสรรคภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง เด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่มีคุณภาพก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้วย เช่นกัน
ครอบครัวที่มั่นคง ไม่จำเป็นต้องมีความร่ำรวยหรือประสบความสำเร็จอย่างสูง หากเพียงแต่มีการจัดสรรรายได้อย่างเหมาะสม มีการใช้จ่ายอย่างสมควรกับฐานะ ดูแลบ้านให้สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ดูแลลูกด้วยความรักและความเข้าใจ มีคุณธรรมประจำครอบครัว มีความรัก และอดทนต่อกันและกัน ให้โอกาส และให้กำลังใจกันและกันเสมอ ก็ทำให้สามารถสร้างสุขให้กับทุกคนในครอบครัวได้
รู้ทันความเครียด
ความเครียดเป็นพิษจิตใจชนิดหนึ่งที่เกิดได้บ่อยที่สุด และดูเหมือนจะเป็นปัญหาสำคัญของคนในปัจจุบัน เมื่อเรามีงานที่ต้องรับผิดชอบ มีเรื่องให้ต้องคิด มีแรงกดดันที่ต้องเผชิญหรือมีปัญหาที่แก้ไม่ตก ทำให้เราอยู่ในภาวะเครียด การเกิดภาวะเครียดเป็นเรื่องปกติ ทำให้เราอยู่ในภาวะเครียดเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้มัน คือรู้ตัวเมื่อเกิดความเครียด และหาวิธีกำจักความเครียดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการพักผ่อน เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย แล้วจึงกลับมาทำงานใหม่
การเปลี่ยนทัศนคติความคิดก็ช่วยลดความตึงเครียดได้โดยตรง เช่นการคิดว่า ไม่มีงาใดที่จะไม่มีปัญหาและชีวิตของคนทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับอุปสรรค ดังนั้นจึงไม่ต้องไปตกใจ หรือเครียดให้เสียเวลา บอกกับตัวเองว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขเสมอ และเมื่อเราได้ทำทุกอย่างอย่างดีที่สุดแล้ว เราก็ควรภูมิใจว่าเราได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรเราก็ไม่ต้องกังวลกับมัน เพียงแต่ตั้งใจว่าต่อไปจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เพียงพอแล้ว
รู้ทันความโกรธ
ความโกรธเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของมนุษย์ จัดอยู่ในกลุ่มของความไม่พึงพอใจ และคนเราจะแสดงออกเมื่อเกิดความโกรธแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะทางจิตใจและอิทธิพลของการเลี้ยงดูก็มีส่วนด้วย ความโกรธสามารถกลายเป็นพิษที่ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น เป็นความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ความโกรธไม่ได้เป็นความผิดเสมอไป แต่การจะแสดงออกความโกรธต้องมีความสมเหตุสมผล และต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัยได้ พยายามหาวิธีแก้ไข ไม่ใช่แก้แค้น
เมื่อเกิดความโกรธทางแก้ที่ดีคือการพูดคุย ปรับความเข้าใจกับคนที่เป็นต้นเหตุของความโกรธนั้นๆ ไม่ใช่เก็บไว้จนเป็นความขุ่นเคือง ขมขื่น หากเขาขอโทษแล้วก็ให้ลืมไปเสียไม่ต้องจดจำความผิดกันอีก แต่หากเขาไม่ให้ความร่วมมือ ก็อย่าไปใส่ใจ อย่าไปจดจ่ออยู่กับคนที่ทำให้เราโกรธ เสียเวลา เสียสุขภาพจิตเปล่า
หากเรามีความเข้าใจมากขึ้นเราก็จะโกรธน้อยลง ไม่โกรธในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไม่ถือสาหาความใครง่ายๆ อะไรยอมได้ก็ยอม ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ก็จะทำให้ชีวิตมีสุขขึ้นอีกเยอะ
จิตใจร่าเริงเป็นยาอย่างดี
ผลทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าอารมณ์มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบต่างๆของร่างกาย
โดยเฉพาะต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้สุขภาพดี อายุยืนยาว อารมณ์ที่ดีเกิดจากจิตใจที่เป็นสุข ทำให้ใบหน้าอิ่มเอิบ ยิ้มแย้มแจ่มใส จนทำให้คนที่อยู่ใกล้รู้สึกดีตามไปด้วย เหมือนเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง นอกจากนี้การมีอารมณ์ที่ดียังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบต้านทานของ ร่างกายอีกด้วย
การจะสร้างและรักษาอารมณ์ดีให้อยู่กับตัวเราตลอดไปนั้น ต้องเริ่มจากการสร้างทัศนคติที่ดีให้ชีวิตมองโลกดี มองชีวิตดี มองผู้คนรอบข้างดี ทั้งนี้ต้องอยู่บนรากฐานของความเป็นจริงด้วย แต่หากต้องพบพานกับปัญหาหรืออุปสรรคก็ต้องมีความเข้าใจ ทำใจให้สงบ ยิ้มสู้ปัญหาและไม่จดจ่ออยู่แต่กับเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และไม่ สร้างสรรค์
เทคนิคคลายเครียด
มีเทคนิคคลายเครียดดีๆที่อยากแนะนำให้ลองใช้ 2 วิธีดังนี้
1. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคลายเครียด
เมื่อเกิดความเครียดส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัว การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ เมื่อฝึกคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ และในขณะที่ฝึก จิตใจจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ช่วยลดความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ทำให้มีสมาธิมากกว่าเดิมด้วย
วิธีการฝึก
เลือกสถานที่ๆสงบ นั่งในท่าสบาย คลายเสื้อผ้าให้หลวม ถอดรองเท้า หลับตา ทำให้ให้ว่าง ให้ใจจดจ่ออยู่กับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ 10 กลุ่มต่อไปนี้
1. มือและแขนขวา โดยการกำมือ เกร็งแขนแล้วคลาย
2. มือและแขนซ้าย ทำเช่นเดียวกัน
3. หน้าผาก โดยการเลิกคิ้วแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย
4. ตา แก้ม จมูก โดยการหลับตาปี๋ ย่นจมูก แล้วคลาย
5. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยการกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย เม้มปากแน่นแล้วคลาย
6. คอ โดยการก้มหน้าให้คางจดคอแล้วคลาย เลยหน้าจนสุดแล้วคลาย
7. อด ไหล่ และหลัง โดนหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้แล้วคลาย อกไล่สูงแล้วคลาย
8. หน้าท้อง และก้น โดยแขม่วท้องแล้วคลาย ขมิบก้นแล้วคลาย
9. เท้าและขาขวา โดยการเหยียดขา งอนิ้วเท้าแล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
10. เท้าและขาขวา โดยการเหยียดขา งอนิ้วเท้าแล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
ข้อแนะนำ
1. ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง 3-5 วินาที ผ่อนคลาย 10-15 วินาที เป็นต้น2. ระวังอย่าให้เล็บจิกเนื้อตัวเองเวลากำมือ
3. เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเกร็งก่อน
4. คุณอาจเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหาเท่านั้นก็ได้
2. การฝึกหายใจ
โดยปกติคนทั่วไปจะหายใจตื้นๆ โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ได้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายน้อยเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เครียด เราจะยิ่งหายใจถี่และติ้นมากกว่าเดิม ทำให้เกิดอาการถอนหายใจเป็นระยะๆเพื่อให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น
การฝึกหายใจอย่างช้าๆลึกๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้องจะช่วยให้ร่างกายได้อากาศเข้าสู่ปอดมาก ขึ้น เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง และลำไส้อีกด้วย การฝึกหายใจอย่างถูกวิธี จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง สมองแจ่มใส และทำให้รู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความเครียดออกไป
วิธีการฝึก
1. นั่งในท่าสบาย หลับตา เอามือวางไว้บริเวณท้อง ส่วนมืออีกข้างวางไว้ที่หน้าอก ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆ โดยใช้ท้อง ถ้าหายใจอย่างถูกต้องมือที่จับท้องจะสัมผัสได้ว่าท้องพองขึ้น ส่วนที่หน้าอกแทบจะไม่ขยับเลย
2. ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกโดยใช้กล้ามเนื้อท้องโดยที่ท้องจะยุบลงอย่างเห็นได้ชัด และบริเวณหน้าอกแทบจะไม่ขยับเลยเช่นกัน
3. ควรฝึกการหายใจแบบนี้ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด และฝึกให้เป็นนิสัยทุกวัน
ท่าบริหารกายคลายเคลียดขณะทำงาน
การบริหารตา
พักจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ แล้วบริหารตาโดยการกลอกตาไปทางซ้าย แล้วย้ายกลับมาทางขวา ทำซ้ำข้างละ 5 รอบ
บริหารคอด้วยการหมุนศีรษะ การหมุนศีรษะจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอ
1. เริ่มจากก้มศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วหมุนไปทางขวาช้าๆ
2. จากนั้นแหงนศีรษะไปข้างหลังเล็กน้อย ก่อนหมุนไปทางซ้ายห้ารอบ และหมุนกลับไปทางขวาอีกห้ารอบ
การยืดหลังและหน้าอก
ท่านี้จะช่วยคลายอาการตึงที่ลำตัวส่วนบนและช่วยคลายกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกไหล่
1. นั่งโดยไม่ต้องเกร็ง ห้อนแขนลงมาไว้ข้างลำตัว ห่อไหล่ไปข้างหน้า นับ 1-5 ในใจ แล้วกลับไปนั่งท่าปกติ
2. ผึ่งไหล่ทั้งสองไปด้านหลัง นับ 1-5 แล้วกลับมาสู่ท่าปกติ
ท่าคลายเมื่อย ช่วยกำจัดการเมื่อยที่หัวไหล่ แขน และมือ ทำให้ร่างกายส่วยบนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น หายใจเข้าได้ลึกและสะดวกขึ้น
1. การหมุนหัวไหล่ นั่งท่าสบายๆ ปล่อยแขนทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว หมุนหัวไหล่ไปข้างหน้า 5 รอบ หมุนไปข้างหน้า 5 รอบ แล้วหมุนไปข้างหน้าอีกห้ารอบ
2. การบิดตัว นั่งบนเก้าอี้ วางแขนข้างลำตัว สอดฝ่ามือทั้งสองข้าวไว้ใต้ต้นขา ดันตัวขึ้นมาด้วยมือทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการเหยียดตัว แล้วกลับไปนั่งท่าปกติ
3. การเหยียดตัว ยืนตรงเพื่อเหยียดตัวขึ้นทั้งตัว ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ประสานนิ้วมือโดยให้ฝ่ามือหงายขึ้นหาเพดาน แล้วค่อยๆกลับมาสู่ท่าปกติ
4. การหมุนแขน หมุนแขนทีละข้างเป็นวงกลมโดยไม่ต้องเกร็งข้อศอกหัวไหล่ โดยเริ่มจากการหมุนไปข้างหน้าห้ารอบ แล้วหมุนไปข้างหน้าอีกห้ารอบ
5. การสะบัดแขน ให้สะบัดทีละข้าง โดยห้อยแขนลงมาและเริ่มสะบัดจากปลายนิ้วก่อน แล้วค่อยๆส่งแรงเคลื่อนไหวมาที่มือ ข้อมือ ปลายแขน ปลายแขน ศอก ต้นแขน เรื่อยไปจนถึงหัวไหล่
ท่าผ่อนคลายมือ ช่วยลดอาการตึงตามข้อ เส้นเอ็น และกระดูก
1. กำมือทั้งสองข้างให้แน่นเพื่อเกร็งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น นับ 1-5 จากนั้นกางนิ้วให้เต็มเหยียดเพื่อยืดเส้นเอ็น นับ 1-5 ทำซ้ำสลับกัน 3 ครั้ง
2. งอข้อศอกเข้าหาตัว พนมมือขึ้นระหว่างหน้าอก แยกส้นเท้าเล็กน้อยเพื่อกดฝ่ามือและนิ้วเข้าหากัน นับ 1-5 แล้วกลับมาท่าปกติ
การบริหารหน้า
ความเครียดเป็นตัวการทำให้ใบหน้าเมื่อย เกร็ง โดยเฉพาะบริเวณรอบๆตา ปาก และขากรรไกร วิธีบริหารหน้าที่ช่วยได้คือ
1. ย่นหน้า ย่นตา และจมูก ทำปากจู๋ และห่อขากรรไกร พร้อมกับพยายามเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้เวลาประมาณ 20 วินาที
2. ยืดหน้า เบิกตาให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ อ้าปากกว้าง ค้างไว้ 20 วินาที แล้วจึงกลับมาท่าปกติ
อ่านบทความถัดไป >> ล้างพิษระดับจิตวิญญาณ
อ่านบทความก่อนหน้า >> การนวดและการกดจุดเสริมการล้างพิษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น