บทส่งท้าย ร่วมกันขจัดสารพิษรอบตัว
อย่างที่กล่าวเอาไว้ใน Part แรก ว่าทุกวันนี้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ล้วนเต็มไปด้วยการปนเปื้อนของสารพิษอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะในน้ำ อาหาร อากาศ สิ่งของ เครื่องใช้ และสิ่งต่างๆที่เราต้องสัมผัสอยู่เป็นประจำ การดูแลรักษาความสะอาด และการหลีกเลี่ยงไม่ปะทะสัมผัสกับสารพิษจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
และนี่คือ ตัวอย่างของการปฏิบัติเพื่อป้องกันและช่วยขจัดสารพิษต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา
1. ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยใช้น้ำยาล้างผัก หรือแช่ผงล้างผัก (ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป) การล้างควรเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลเวียนและล้างหลายๆน้ำ
2. เลือกซื้อชา กาแฟ ผัก ผลไม้ที่ปลอดสารพิษ
3. ไม่ควรแช่ผักไว้ในตู้เย็นนานเกิน 2-3 วัน จะทำให้ผักไม่สด หากไม่สะดวกซื้อผักสดทุกวันอาจเลือกซื้อผักแช่แข็งสำเร็จรูป เช่น ถั่วลันเตาแช่แข็ง จะทำให้สารอาหารที่ครบถ้วนกว่า
4. เลือกซื้อปลากระป๋อง ประเภท ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาซาร์ดีน ไว้ใช้ปรุงอาหารเมื่อไม่มีเวลาไปซื้อปลาสดๆมาทาน
5. เลือกซื้ออาหารหรือซุปกระป๋อง ซุปกล่องที่มีคุณภาพ และไม่ใส่สารปรุงแต่ง
6. หากไม่สามารถซื้อน้ำผลไม้คั้นสดดื่มได้ อาจเลือกซื้อน้ำผลไม้แบบบรรจุกล่องหรือกระป๋องที่ไม่ใส่สารกันบูด และควรเลือกชนิดที่มีเนื้อผลไม้ปนอยู่ด้วย เพราะจะมีสารไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ และบรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
7. ติดเครื่องกรองน้ำไว้ที่ห้องครัว เพื่อใช้ทำอาหาร ชงชา กาแฟ ล้างผักผลไม้ และใช้ดื่ม
8. ใช้ตะไคร้หอมไล่ยุงแทนการจุดยากันยุง
9. ใช้เครื่องสำอาง และครีมบำรุงผิวที่มีสารเคมีน้ำหอม และแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด โดยหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรธรรมชาติแทน
10. ถ้าต้องทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ควรทานโยเกิร์ตทุกวันเพื่อชดเชยเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ หรือทานอะซิโดฟิลัสที่มีทั้งชนิดผงและชนิดเม็ดแทนก็ได้
11. อ่านรายละเอียดของยา อ่านฉลากอาหารทุกครั้ง และตรวจสอบวันหมดอายุก่อนรับประทาน
12. ลดการใช้พลาสติด โดยหันมาใช้ถุงผ้า หรือตะกร้าแทน
13. ซื้อผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดบ้านตลอดจนผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ไม่มีสารพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือสารตกค้างต่างๆ
14. หันมาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว ใช้สีทาบ้านและเครื่องครัวที่ไม่มีส่วนประกอบของตะกั่ว
15. เปลี่ยนหมอน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน และซักผ้าห่มบ่อยๆ สำหรับผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบหรือภูมิแพ้ควรใช้หมอนชนิดที่ป้องกันภูมิแพ้
16. เลือกใช้ฟูกที่ทำจากยางพารา เพราะช่วยป้องไรฝุ่นและสิ่งกระตุ้นูมิแพ้อื่นๆ
17. จุดน้ำมันหอมเพื่อความผ่อนคลาย และขจัดกลิ่นอับในบ้าน หรือในที่ทำงาน แนะนำให้ใช้กลิ่นยูคาลิปตัส เปปเปอร์มินต์ หรือลาเวนเดอร์
18. เลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่สามารถดูดไรฝุ่นออกจากพรมได้ หรือปูพื้นบ้านด้วยไม้แทนพรม
19. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่
20. พยายามลดปริมาณแอลกอฮอล์โดยงดดื่มสัปดาห์ละ 3-4 วัน และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หลายๆชนิดผสมกัน
เพาะกล้าอ่อนไว้รับประทาน
กล้าอ่อน เป็นอาหารมากคุณค่าอยากแนะนำให้มีติดครัวไว้เสมอ เพราะนอกจากคุณค่าแสนดีแล้วยังมีราคาถูก เพาะเองได้ง่ายมาก ทำให้เป็นผักปลอดสารพิษที่รับประทานเองได้อย่างสบายใจ อีกทั้งยังรู้สึกสนุก และภูมิใจที่ได้เพาะเอง
เหตุผลที่ทำให้กล้าอ่อนมีคุณค่าอาหารมากเนื่องจากในกระบวนการที่พืชกำลังงอกนั้นปริมาณวิตามินจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 700 เปอร์เซ็น กล้าอ่อนยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ซึ่งหาได้ในผักไม่กี่ชนิดเท่านั้น ขณะที่ต้นกล้าเริ่มงอก แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลโมเลกุลไม่ซับซ้อน ไขมันกลายเป็นกรดไขมัน โปรตีนเป็นกระอะมิโน จึงย่อยง่ายและไม่ทำให้เยื่ออ่อนในร่างกายเกิดน้ำมูกเหมือนตอนที่เป็นเมล็ด กล้าอ่อนเรียกได้ว่าเป็นอาหารอายุวัฒนาที่หาได้ง่ายที่สุด
วิธีเพาะกล้าอ่อน
1. ล้างเมล็ดพืชให้สะอาด เลือกเมล็ดที่แตกและสิ่งสกปรกออก
2. นำเมล็ดพืชใส่ภาชนะ เช่น ถัง หรือชามขนาดใหญ่ เติมสะอาด เช่น น้ำกรอง น้ำแร่ หรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ให้น้ำท่วมเมล็ดสูงประมาณ 2-3 นิ้ว (ไม่ควรใช้น้ำประปา เพราะกล้าอ่อนจะดูดสารเคมีที่ปนมากับน้ำและคลอลีนในน้ำประปาจะยับยั้งการงอกของต้นกล้าด้วย)
3. แช่เมล็ดพืชไว้ตามเวลาที่กำหนดให้ในตาราง หากแช่เป็นเวลานานควรเปลี่ยนน้ำด้วย
4. เมื่อครบกำหนดเวลาให้เทน้ำทิ้ง หรือบางครั้งเมล็ดอาจดูดน้ำจนหมด
5. เทน้ำสะอาดเข้าไปใหม่ให้ทุกเมล็ดได้คลุกเคล้ากับน้ำ แล้วเทน้ำออกให้หมด ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ระวังอย่าให้น้ำค้างในภาชนะมากเกินไปจะทำให้เมล็ดเน่าได้
6. หลังจาก 3-5 วัน กล้าอ่อนที่งอกออกมาก็กินได้ นำออกมาล้างแล้วใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ในตู้เย็น ไว้ออกมากินกับสลัด (หรือใช้ประกอบอาหารต่างๆ สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู้ในช่วงล้างพิษ) กล้าอ่อนที่อยู่ในตู้เย็นควรทานให้หมดภายใน 5-7 วัน
ตารางเพาะกล้าอ่อน
ชนิดของเมล็ด | ระยะเวลาในการแช่น้ำก่อนเพาะ | ระยะเวลาในการเพาะ | ข้อแนะนำ |
งา | 6-8 ชั่วโมง | 3-4 วัน | หากงอกยาวเกินไป กล้าอ่อนจะมีรสขมมาก |
ฟีนูกรีก | 6-8 ชั่วโมง | 3-4 วัน | เหมาะสำหรับขับสารพิษออกจากร่างกาย ควรใช้ผสมกับกล้าอ่อนชนิดอื่น มีรสเหมือนกะหรี่ |
มัสตาร์ด | ไม่ต้องแช่น้ำ | 4-5 วัน | หากปลูกกับกระดาษทิชชู่ 7 วัน ตัดเอายอดเขียวไปทำสลัดได้ |
แรดดิช | ไม่ต้องแช่น้ำ | 4-5 วัน | มีรสเผ็ดฉุนจึงควรใช้ผสมกับกล้าอ่อนชนิดอื่น ใช้สำหรับกำจัดน้ำมูกและรักษาอาการอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อน |
อัลฟัลฟา | 6-8 ชั่วโมง | 5-6 วัน | มีวิตามินและเกลือแร่สูง |
ทานตะวัน | 24 ชั่วโมง | 1-2 วัน | กล้าอ่อนของทานตะวันจะช้ำง่ายมากจึงต้องหยิบอย่างเบามือ |
ถั่วลันเตา | 18 ชั่วโมง | 3-4 วัน | อาจต้องเติมน้ำ 2 ครั้งขณะแช่ |
เลนทิล | 10-15 ชั่วโมง | 3-5 วัน | เพาะทิ้งไว้ได้นานถึง 6 วัน |
ถั่วเขียว | 15 ชั่วโมง | 3-5 วัน | สามารถทำให้ถั่วงอกมีรสหวานได้โดยการเพาะในที่มืด |
ถั่วเหลือง | 24 ชั่วโมง | 3-5 วัน | ควรเปลี่ยนน้ำบ่อยๆขณะแช่ |
ข้าวสาลี | 12-15 ชั่วโมง | 2-3 วัน | มีวิตามินบีสูง น้ำที่แช่เมล็ดข้าว ใช้ดื่มหรือทำซุปได้ |
ข้าวไรน์ | 12-15 ชั่วโมง | 2-3 วัน | มีรสอร่อย และมีประโยชน์ต่อต่อมไร้ท่อ |
ข้าวบาร์เลย์ | 12-15 ชั่วโมง | 2-3 วัน | มีรสหวาน เหมาะสำหรับคนผอมหรือคนที่เพลียง่าย |
ข้าวฟ่างมิลเลต | 5-8 ชั่วโมง | 3-4 วัน | เป็นกล้าอ่อนชนิดเดียวที่มีฤทธิ์เป็นด่าง |
อ่านบทความก่อนหน้า >>
ล้างพิษระดับจิตวิญญาณ